รถยนต์
- รถกระบะ คือรถที่สามารถโดยสารได้ 4 ที่นั่งและใช้บรรทุกของด้านหลังได้ เช่น มิตซูบิชิ ไทรทัน(Mitsubishi Triton), ฟอร์ด เรนเจอร์ (Ford Ranger), นิสสัน นาวารา (NISSAN NAVARA) ฯลฯ
- รถตอนเดียว คือรถ 2 ที่นั่งที่ไม่มีเบาะโดยสารด้านหลัง กระบะกว้าง ใช้สำหรับการบรรทุกโดยเฉพาะ เช่น ISUZU D-MAX Spark cab, Toyota Hilux Revo Standard Cab, Mitsubishi triton Single Cab ฯลฯ
- รถแค็บ คือรถกระบะ 2 ประตูที่โดยสารได้ 4 ที่นั่ง และมีกระบะท้ายสำหรับบรรทุกของ เป็นรถที่ใช้บรรทุกของได้เหมือนรถตอนเดียวแต่นั่งได้สบายเหมือนรถกระบะ เช่น Toyota Revo Smart Cab, Ford Ranger Open Cab ฯลฯ
- รถเก๋ง คือรถ 4 ประตูที่มีห้องโดยสารกว้าง นั่งได้ 4 ที่นั่ง เช่น Toyota Altis, Mitsubishi Attrage, Toyota Yaris ATIV ฯลฯ
- รถ SUV คือรถอเนกประสงค์ที่มีประโยชน์มากกว่ารถทั่วไป SUV ย่อมาจากคำว่า Sport Utility Vehicle หมายถึงอรรถประโยชน์ที่มากกว่า สามารถโดยสารได้ 4 ที่นั่งและเก็บสัมภาระด้านหลังได้ เช่น Honda HR-V, Mazda CX-3, Toyota C-HR ฯลฯ
- รถ PPV ย่อมาจากคำว่า Pick-Up Passanger Vehicle เป็นรถอเนกประสงค์ที่มีพื้นฐานมาจากรถกระบะเพื่อให้มีที่นั่งโดยสารมากขึ้นและนั่งได้สบายขึ้น สามารถนั่งได้มากถึง 7 ที่นั่ง เช่น Isuzu Mu-X, Mitsubishi All-New Pajero Sport, Toyota Fortuner ฯลฯ
- รถ MPV ย่อมาจากคำว่า Multi Purpose Vehicle เป็นรถอเนกประสงค์ที่มีความสะดวกมากกว่ารถประเภท SUV และ PPV มีลักษรณะคล้ายกับรถตู้ นั่งได้หลายที่นั่ง เช่น Hyundai H1, Honda Odyssey, Toyota Alphard ฯลฯ
- รถอีโคคาร์ เป็นรถที่มีข้อจำกัดในการผลิต โดยจะต้องผ่านมาตรฐานระดับสูง UNECE 94 และ 95, ต้องมีระดับการปล่อยมลพิษอยู่ที่ Euro 4 คือ จะต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์น้อยกว่า 120 กรัม/ระยะทาง 1 กิโลเมตร และต้องมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ 1 ลิตร/ระยะทาง 20 กิโลเมตร เพื่อประหยัดน้ำมันและรักษาสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างรถอีโคคาร์ ได้แก่ Toyota Yaris, Suzuki Swift, Honda Brio ฯลฯ
- รถไฮบริด เป็นรถที่มีระบบการขับเคลื่อน 2 อย่างคือ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์เผาไหม้ เช่น Toyota Alphard 5 Hybrid, Nissan X-Trail 2.0 V 4WD Hybrid, Toyota Camry Hybrid ฯลฯ
- รถ Crossover คือ รถเก๋งแฮตช์แบ็ค 5 ประตูที่ยกสูงเพื่อพร้อมลุยทุกสภาพถนน เช่น Mazda CX-3, MG3 Xross, Honda BR-V ฯลฯ
- รถสปอร์ต คือรถที่นั่งตอนเดียวที่มีกำลังเครื่องยนต์สูงกว่ารถทั่วไป เป็นรถที่ใช้ความเร็วสูง ปราดเปรียว และสวยงาม เช่น Audi R8, Ford Mustang, Porsche Boxster ฯลฯ
- รถซุปเปอร์คาร์ เป็นรถที่มีการออกแบบพิเศษและมีนวัตกรรมยานยนต์เป็นของตัวเอง จุดเด่นของรถซุปเปอร์คาร์คือ รูปลักษณ์ที่สวยหรู ปราดเปรียว และมีความเร็วสูงสุดที่ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง ยกตัวอย่างรถซุปเปอร์คาร์ ได้แก่ Ferrari 812 Superfast V12, Mercedes - benz AMG, Audi R8 Coupe V10 ฯลฯ
- รถตู้ คือรถอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ที่เหมาะสำหรับการโดยสาร นั่งได้ 14 ที่นั่ง นิยมใช้ในการเดินทางไกล เช่น Hyundai H1 Touring, Toyota Commuter 3.0 ฯลฯ
- ใช้เพื่อบรรทุก เหมาะสำหรับรถตอนเดียว, รถแค็บ, และรถกระบะ
- ใช้งานทั่วไป เช่น การขับไปเรียน ไปทำงาน เหมาะสำหรับรถเก๋ง, รถอีโคคาร์, และรถไฮบริด
- ใช้ในครอบครัว เหมาะสำหรับรถ SUV, รถ PPV, รถ MVP
- ใช้ความเร็วสูงและเน้นความสวยงาม เหมาะสำหรับรถสปอร์ตและรถซุปเปอร์คาร์
- ใช้สำหรับโดยสาร เหมาะสำหรับรถตู้
รถยนต์มีหลากหลายประเภทและมีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ควรเลือกซื้อรถให้ตรงความต้องการและคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อจะได้รถที่ตอบสนองการใช้งานของผู้ซื้อได้มากที่สุด
1. รถยนต์นั่งแบบ Micro Car มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดารถยนต์ทั้งหมด ในไทยถือว่าเป็นรถที่ไม่ค่อยเห็นบนท้องถนน เพราะเล็กมาก ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 500 ซีซีเท่านั้น มี 2 ที่นั่งรวมคนขับ
2. Eco Car เป็นชื่อที่เรียกกันเฉพาะในไทย และค่อนข้างนิยม เพราะเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ที่ออกแบบมาเพื่อประหยัดน้ำมัน เครื่องยนต์ไม่เกิน 1200ซีซี เน้นขับในเมืองเป็นหลัก เช่น Nisson March,Toyota Yaris, Honda Brio
3. Sub-Compact car คือรถเก๋ง 3-5 ประตู ขนาดเล็กมากๆ ที่เราเห็นทั่วไป เช่น Ford Fiesta, honda city, Toyota ATIV ขนาดเครื่องยนต์ประมาณ 1200-1500ซีซี สมรรถนะเหมือนรถทั่วๆไป เพียงแต่มีขนาดตัวรถเล็กกว่าเท่านั้นเอง
4. Compact Car เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่คนนิยมซื้อมากสุด ด้วยขนาดรถและขนาดเครื่องยนต์ที่ลงตัว 1500-2000 ซีซี เหมาะเป็นรถครอบครัว เดินทางไกลได้สะดวกขึ้น โดยในกลุ่มรถยนต์นั่งประเภทหรูหรา ก็จะเรียกเป็น Entry-level luxury car เช่นรถเปอโยต์ 308, BMW ซีรีส์ 3, Benz C class และเลกซัส IS เป็นต้น
5. รถยนต์นั่งขนาดกลาง Mid-size car และ Mid-size luxury car รถที่ออกแบบภายในตัวรถให้ใหญ่พอที่จะรองรับผู้ใหญ่ 5 คน ได้โดยไม่เบียดเสียด มีเครื่องยนต์ที่สมรรถนะสูงขึ้น ใช้เครื่องยนต์ขนาด 2.0-3.5 ลิตร เพื่อรองรับน้ำหนักตัวรถที่มากขึ้น สามารถใช้เป็นรถสำหรับครอบครัวได้ดี
6. รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ Full-size car รวมถึง Full-size luxury car เป็นรถเก๋งขนาดใหญ่สุด เน้นสมรรถนะ ความแรง และความหรูหรา สำหรับกลุ่มครอบครัวใหญ่ ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ รถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ โตโยต้า คราวน์, เลกซัส LS460, Benz S class, BMW ซีรีส์ 7, ออดี้ A8, จากัวร์ XJ, ซีตรอง C6
7. Sports car รถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นสมรรถนะ น้ำหนักของตัวถังให้เบากว่ารถปกติทั่วไป เพื่อที่จะทำให้รถนั้นมีสมมรรถนะให้ออกมาได้มากที่สุด รถสปอร์ต ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นรถยนต์ 2 ที่นั่ง มีทั้งทรงคูเป้และทรงซีดาน เช่น Chevrolet Corvette , Toyota 86 , Subaru WRX STi , Subaru BR-Z
8. Supercar หลายๆ คนน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เป็นรถที่เน้นในเรื่องของสมรรถนะแบบเต็มๆ เครื่องยนต์ขนาด 6สูบขึ้นไป เช่น Lamborghini Huracan ,Ferrari 458 italia , McLaren MP4-12Cเป็นต้น
9. Grand tourer
เป็นกลุ่มรถสปอร์ตที่มีความหรูหรา ขึ้นมามากกว่าสปอร์ตคาร์ทั่วไป มีสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นมาอีกระดับ เช่น Nissan GT-R Aston Martin DB9, Porsche 911
10. รถ MPV เป็นรถยนต์เอนกประสงค์ ที่พัฒนามาจากรถตู้ เบาะนั่งอาจจะมี 2-3 แถวเพื่อรองรับการโดยสารตั้งแต่ 5-8 ที่นั่ง เน้นการใช้งานที่อเนกประสงค์ เหมาะสำหรับครอบครัวใหญ่ หรือการเดินทางเป็นหมู่คณะ
11. รถยนต์ SUV รถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูง มีทั้งแบบขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4 ล้อ ตัวรถค่อนข้างใหฯ่พื้นที่ใช้สอยมากเพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นรถอเนกประสงค์ มีสมรรถนะสูงกว่า สามารถใช้ไต่เขาชัน และวิ่งทางวิบากได้ดีกว่า และมักใช้เครื่องยนต์ดีเซล
12. รถกระบะ Pick Up รถยนต์ประเภทมี cap ด้านหลังเป็นกระบะสำหรับวางของ ซึ่งรถประเภทนี้เหมาะกับการใช้บรรทุกสิ่งของจำนวนมาก ไม่เน้นเรื่องความจุผู้โดยสาร ออกแบบมาให้ทนทานรองรับการใช้งานที่สมบุกสมบัน
13. รถตู้ ออกแบบมาเพื่อการบรรทุกผู้โดยสารจำนวนมาก สูงสุด 12 คนตามกฎหมาย โดยปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทของรถออกเป็นกลุ่มรถตู้ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ยังมีแบบหรูหราให้เลือกอีกด้วย คล้ายกับกลุ่มของรถกระบะ สำหรับรถยนต์ในกลุ่มตลาดนี้ (มีขายในไทย) ได้แก่ โตโยต้า ไฮเอช/คอมมิวเตอร์ , โตโยต้า เวนจูรี่ และ นิสสัน เออแวน เป็นต้น
CC รถยนต์ที่คนมักพูดถึงกัน นั้นคือขนาดความจุของกระบอกสูบของเครื่องยนต์แบบเผาไหม้ภายใน ยิ่งมีค่า CC มาก พลังการจุดระเบิดก็จะมาก และก็ถือว่าเป็นตัวบอกถึงกำลังของเครื่องยนต์ด้วยว่าจะมีแรงม้าและแรงบิดมาก-น้อยเพียงใด เพราะซีซีที่สูงขึ้นแรงม้าและแรงบิดจะมากขึ้นตาม
ข้อสำคัญของการเลือกซื้อรถยนต์ ว่าจะเลือกขนาดเครื่องยนต์เท่าไรดีนั้น ควรดูเรื่องการใช้งานจริงของรถเราในอนาคตเป็นสำคัญ เพราะรถยนต์นั้นมีตั้งแต่ขนาดเล็ก 1000 ซีซี ไปจนถึงขนาดใหญ่ ออกแบบมาให้ตอบสนองการใช้งานในรถที่แตกต่างกัน และถ้ามองไม่ออกว่าควรเลือกกี่ซีซี ให้ดูข้อมูลดังนี้
เครื่อง 1.2-1.5 ลิต ร เน้นการใช้งานในเมือง ออกท่องต่างจังหวัดเป็นครั้งคราว ทางยาวไม่บ่อยเน้นทางสั้นความเร็วไม่สูงมากนัก
เครื่อง 1.6-1.8 ลิตร เน้นการใช้งานระยะกลาง ตัวอย่างเช่นบ้านอยู่ชานเมืองทำงานในเมือง ใช้ทางยาวบ้างเป็นบางครั้ง ออกต่างจังหวัดถี่หน่อย แต่ไม่บ่อยมาก เน้นความลงตัวทั้งสมรรถนะและการประหยัดเป็นสำคัญ
เครื่อง 2.0- 3.5 ลิตร หรือมากกว่านั้น เน้นขับทางยาวบ่อยครั้ง สาวกทางด่วนขาประจำ ไปกลับต่างจังหวัด บ่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ ไม่ค่อยได้ใช้งานในเมืองมากนัก โดยมาก รถกลุ่มนี้ มักเป็นคันที่ 2 ของ บ้าน หรือ ถ้าใช้งานบ่อยครั้ง เครื่อง 2.0-2.4 ลิตร จะตอบโจทย์ได้ดีกว่า เรื่องความประหยัด
1. ความต่างในเรื่องการส่งเชื้อเพลิงและการจุดระเบิด ในเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่มีคาร์บูเรเตอร์และหัวเทียนสำหรับจุดระเบิด แต่อาศัยแรงดันจากปั๊ม ทำให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันออกมาเป็นฝอย แล้วจึงเกิดเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ในเครื่องยนต์เบนซินหรือแก๊สโซลีนนั้น น้ำมันและอากาศจะถูกผสมกันในคาร์บูเรเตอร์และในท่อไอดีก่อน แล้วค่อยดูดและอัดเข้ากระบอกสูบ จากนั้นประกายไฟจากหัวเทียนเป็นตัวกระตุ้นให้มีการจุดระเบิดและเผาไหม้
2. อัตราส่วนของกำลังอัด ในเครื่องยนต์ดีเซลนั้น ต้องการอากาศที่ถูกอัดจนมีอุณหภูมิสูงพอที่จะไปจุดระเบิดน้ำมันเชื้อเพลิงในกระบอกสูบ จึงต้องการกำลังอัดในเครื่องยนต์ที่สูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ในขณะที่เครื่องยนต์เบนซินอาศัยแรงดันสวนทางเคลื่อนที่ของลูกสูบที่เรียกว่าน็อค จึงใช้กำลังอัดที่ต่ำกว่า
3. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องยนต์ สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น ชิ้นส่วนต่างๆ ตั้งแต่ลูกสูบ กระบอกสูบ เพลาข้อเหวี่ยง แบริ่ง จะต้องทำหน้าที่รับแรงดันสูงมากจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง จึงต้องใช้ชิ้นส่วนที่แข็งแรงมากให้รับแรงดันได้ รวมถึงหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงก็ต้องมีแข็งแรงพอที่จะรองรับการเผาไหม้ได้ จึงทำให้เครื่องยนต์ดีเซลมีราคาแพงและน้ำหนักมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน
รถยนต์ที่วางขายในตลาด ปัจจุบันจะมี2ประเภท คือรถเกียร์ออโต้ และรถเกียร์ธรรมดา เกียร์นั้นเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนรถยนต์ให้แล่นอย่างนุ่มนวล ซึ่งเกียร์แต่ละประเภทก็จะมีข้อดีและข้อเสียของตัวเอง ถ้าหากใครที่กำลังตัดสินใจว่าจะใช้รถเกียร์ไหนก็ลองดูข้อมูลเหล่านี้ประกอบได้เลย
เกียร์ธรรมดา หรือ MT เป็นรถที่มีราคาถูกกว่าเกียร์ออโต้ การขับขี่นั้นทำได้คล่องกว่า ทั้งการทำความเร็ว การเข้าโค้ง ไปจนถึงการเบรคนั้นทำได้ดี สร้างความมั่นใจได้มากกว่า อัตราเร่งของเกียร์ธรรมดาก็ทำได้ดีกว่า แถมไม่สูญเสียพลังงานมากเท่าไหร่ เครื่องยนต์ทนทาน อีกทั้งการบำรุงรักษานั้นง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงนัก
แต่ทั้งนี้ เกียร์ธรรมดา มีข้อจำกัดตรงที่ ต้องใช้ขาทั้งสองในการเหยียบครัซท์ และคันเร่ง เบรค มือซ้ายคุมเกียร์ เปลี่ยนเกียร์ไม่นิ่ม จะเกิดแรงกระซากได้ แล้วถ้าขับในเมืองจะไม่ค่อยคล่องตัว จะทำให้เมื่อยขามาก แถมการขับต้องใช้ความคุ้นชินในการเข้าเกียร์ถึงจะขับได้ดี
เกียร์ออโต้ หรือ AT เป็นเกียร์ที่คนนิยมขับเพราะสะดวกสบายในการขับขี่ การเข้าเกียร์ทำได้ง่ายกว่าเกียร์ธรรมดามาก ไม่ต้องอาศัยทักษะและความคุ้นชิน เหมาะสำหรับการขับในเมือง แต่รถยนต์เกียร์ออโต้นั้น จะมีราคาที่แพงกว่ารถเกียร์ธรรมดาในรุ่นเดียวกันถึง 5-6 หมื่นได้ แล้วก็กินพลังงานมากกว่าเกียร์ธรรมดาเนื่องจากมีระบบที่มากกว่า นอกจากนี้ การทำความเร็วต้องรอรอบเกียร์ซึ่งอาจจะเร่งได้ไม่ทันใจเท่าเกียร์ธรรมดา ส่วนการบำรุงรักษานั้นจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารถเกียร์ธรรมดา
เมื่อต้องการรถยนต์ที่พร้อมสำหรับการใช้งานทั้งขาลุยและขาหรู ก็มีมีคำถามตามมาว่า แล้วจะเลือกซื้อรถยนต์เหล่านี้ในแบบไหนดี ระหว่างขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4 ล้อ และก็ยังมีแบบระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ Full-Time อีกด้วย แต่ละแบบต่างกันอย่างไร มาดูข้อมูลกัน
2WD (ขับเคลื่อน 2 ล้อ) เหมาะกับผู้ที่ต้องการรถยนต์อเนกประสงค์ หรือเพื่อครอบครัว เน้นห้องโดยสารที่โปร่งโล่งสบาย เดินทางใกล้หรือไกลได้สะดวกด้วยช่วงล่างที่ยกสูงขึ้น ลุยน้ำลุยถนนขรุขระได้ สามารถปรับเปลี่ยนรูปเบาะได้ตามการใช้งาน บรรทุกสิ่งของได้มากกว่ารถซีดาน และใช้งานในเมืองหรือถนนเรียบๆ เป็นหลัก
4WD (ขับเคลื่อน 4 ล้อ) เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้รถเดินทางผจญภัย เช่น ขึ้นเขา เข้าป่า เดินทางในไร่ในสวน ใช้งานถนนทางลูกรุง ขรุขระบ่อยๆ ซึ่งรถ 4WD จะมีสมรรถนะของระบบตะกุย 4 ล้อที่รองรับได้สบาย
4WD Full-Time เป็นอีกหนึ่งระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่จะเป็นการทำงานแบบส่งกำลังไปยังล้อทั้งสี่ตลอดเวลา แต่จะปรับแรงล้อตามรูปแบบการขับขี่ หรือตามสภาพถนน เช่น การออกตัวอาจส่งกำลังไปที่ล้อคู่หน้าแบบ 70% และคู่หลัง 30% เพื่อให้การออกรถราบเรียบ หรือเมื่อขับบนถนนเปียกลื่น ระบบก็จะทำการปรับกำลังไปยังล้อทั้ง 4 ให้สอดคล้องและขับผ่านไปได้อย่างปลอดภัย เช่น เมื่อเลี้ยวโค้งล้อด้านในของโค้งก็จะลดกำลังลง และเพิ่มกำลังไปยังล้อที่อยู่นอกโค้ง เพื่อช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น เป็นต้น แต่รถที่ใช้ระบบนี้มักจะกินน้ำมันมากกว่ารถรุ่นอื่นๆ และราคาสูงกว่ารถประเภทอื่นๆ
ทั้งนี้ การจะเลือกซื้อรถยนต์อเนกประสงค์ ว่าจะเอาระบบขับเคลื่อน 2 หรือ 4 ล้อดี ก็ควรต้องดูทั้งงบประมาณที่มี รูปแบบการใช้งานในแต่ละวันว่าต้องการออปชั่นใดที่จำเป็น แล้วสุดท้ายก็คือ ต้องดู "ความชื่นชอบ" ส่วนตัว เพราะถ้ามีงบประมาณที่เกินพอ จ่ายเพิ่มได้สบายๆ ความชอบก็จะเป็นตัวช่วยตัดสินได้ว่าเราจะเลือกอะไร
คำค้นหายอดนิยมในหมวดหมู่นี้: รถยนต์มือสอง , มอเตอร์ไซค์ , มอเตอร์ไซค์มือสอง , ยางรถยนต์ , น้ำมันเครื่อง , อะไหล่รถยนต์